TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความสามารถทั่วไป : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

บทความ 5 นาที
ความสามารถทั่วไป : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

ดังนั้นเราควรที่จะเฝ้าดูลูกน้อย ว่ามี ความสามารถทั่วไป และการรับรู้ อย่างไรบ้าง แล้วลูกน้อยวัย 0 - 1 ปีของเรา มีพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์ หรือไม่

เราเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคน ต่างก็อยากเห็นลูกน้อย เติบโตขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ มีพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์ หรือไวกว่า ซึ่งในช่วง 1 – 5 ปีแรกนั้น คุณพ่อคุณแม่ จะเห็นพัฒนาการของเด็กได้อย่างชัดเจน ดังนั้นเราควรที่จะเฝ้าดูลูกน้อย ว่ามี ความสามารถทั่วไป และการรับรู้ อย่างไรบ้าง แล้วลูกน้อยวัย 0 – 1 ปีของเรา มีพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์ หรือไม่

ความสามารถทั่วไป ของเด็กวัย 0 – 1 ปี จะเป็นการพัฒนาความสามารถ ทางด้านร่างกาย การพัฒนาทางด้านสมอง เป็นปฏิกิริยาตอบสนองรอบด้าน รวมถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์ด้วยเช่นกัน จากการพัฒนาความสามารถของลูกน้อยในวัยนี้ คุณพ่อ และคุณแม่ ควรจะช่วยส่งเสริมให้ตัวลูก ได้ฝึกฝน เพื่อให้ความสามารถของลูก พัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน

พัฒนาการของเด็กนั้นมีทั้งหมด 4 ด้านด้วยกัน คือด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านสังคม และด้านภาษา ซึ่งวิธีสังเกตง่าย ๆ ว่า พัฒนาการลูกปกติดี หรือไม่ ก็คือ เมื่ออายุเขาครบตามเกณฑ์ นี่คือสิ่งที่เขาควรจะทำได้

  • ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ : 4 เดือน เด็กจะเริ่มพลิกคว่ำได้ พอ 6 เดือน เด็กจะเริ่มนั่ง หรือตั้งไข่ได้ และเริ่มหัดคลานได้เมื่อมีอายุประมาณ 8 เดือน
  • ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก : 9 เดือน เด็กจะเริ่มหยิบจับของเล่นชิ้นเล็ก ๆ ได้ เช่น การหยิบเม็ดข้าวสวยเข้าปากเองได้
  • ด้านสังคม : ในวัย 2 เดือน เด็กจะเริ่มยิ้มตอบ เริ่มแสดงความดีใจ พอใจ ผ่านทางท่าทาง และสีหน้า  เริ่มรู้จักดีใจเวลาเจอคนที่ชอบ เริ่มเล่นจ๊ะเอ๋กับคุณพ่อคุณแม่ได้
  • ด้านภาษา : เมื่อเข้าสู่ เดือนที่ 9 เด็กจะเริ่มเรียนแม่ว่า “มะมะ” เรียกพ่อว่า “ปะปะ” เป็นคำสั้น ๆ เมื่ออายุครบ 1 ขวบเต็ม ก็จะเริ่มพูดเป็นคำได้มากยิ่งขึ้น  เช่น หากอยากกินนม ก็จะพูดว่า “หม่ำ” “นม” หากอยากไปไหนก็จะพูดว่า “ไป” เริ่มชี้บอกความต้องการของตนเองได้ และเริ่มเดินเองได้ ในเด็กบางคน

ความสามารถทั่วไปของเด็กแรกเกิด ตามช่วงอายุ

อายุ 1 – 2 เดือน

เด็กควรที่จะเริ่มคว่ำตัว และยกศีรษะขึ้นได้ 45 องศา นั่นแสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงของกระดูกช่วงลำคอ และกล้ามเนื้อสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น สามารถกำมือหลวม ๆ ได้ เริ่มมองรอบ ๆ ตัว สังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง เริ่มมองสบตา มีการแสดงสีหน้าทางอารมณ์ เช่น ยิ่ม หัวเราะ สงสัย สนใจ เป็นต้น

ความสามารถทั่วไป

อายุ 3 – 4 เดือน

สามารถนั่งศีรษะตั้งตรงได้มากยิ่งขึ้น เริ่มใช้มือยันยกอกขึ้นจากพื้นเมื่อนอนคว่ำ หันมองรอบตัวได้มากยิ่งขึ้น สามารถเอื้อมตัว เพื่อหยิบสิ่งที่ต้องการได้ รับรู้ถึงการเรียกชื่อตนเอง เริ่มออกเสียงในลำคอ

อายุ 5 – 6 เดือน

สามารถพลิกคว่ำ – หงาย ตัวได้เอง เริ่มหัดนั่งมือยันพื้น เริ่มฝึกลงน้ำหนักที่เท้า รู้จักหยิบของด้วยมือเดียว และรู้จักการเปลี่ยน หรือ สลับมือในการถือ หรือจับสิ่งของ เขย่า หรือเคาะสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดเสียง ส่งเสียงต่าง ๆ ตอบโต้ได้มากยิ่งขึ้น

อายุ 7 – 8 เดือน

สามารถนั่งทรงตัวได้มั่นคง ลุกนั่งได้เองจากท่าคลาน สามารถคลานได้อย่างอิสระ ถือของสองมือพร้อมกัน และมีการนำมาเคาะเข้าหากันได้ มีการทำเสียงเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ รู้จักอาย กลัว ดีใจ เมื่อเจอคนแปลกหน้า

ความสามารถทั่วไป

อายุ 9 – 12 เดือน

ช่วงวัยนี้ จะเริ่มลุกขึ้น หรือนั่งลงเอง คลาน เหนี่ยวตัวขึ้นยืนขึ้น ได้อย่างอิสระ หยิบของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ เปิดหาของที่ซ่อนเอาไว้ เข้าใจภาษาที่พูด เข้าใจท่าทาง เลียนแบบท่าทางได้ รู้จักการออกเสียงคำซ้ำ ๆ เช่น หม่ำ ๆ จ๋าจ๊ะ หยิบขนมเข้าปาก หรือแม้กระทั่งการดื่มน้ำจากถ้วยได้

 

อาการแบบไหนเริ่มเข้าข่าย “พัฒนาการช้า”

จุดสังเกตง่าย ๆ ที่คุณหมอบอกไว้ก็คือ ถ้าคนอื่นเริ่มทำได้แล้ว แต่ลูกเรายังทำไม่ได้ นั่นคือ สัญญาณเริ่มต้น ของความผิดปกติแล้ว “เกณฑ์ที่ได้กล่าวไปนั้น ความจริงก็ค่อนข้างที่จะช้าแล้ว นั่นหมายความว่า เด็กไม่ควรจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่านี้ เช่น เด็กส่วนใหญ่มักจะพูดได้ก่อนวัย 1 ขวบอยู่แล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกของคุณอายุครบ 1 ขวบ แต่ยังไม่ยอมพูด ไม่ชี้บอกความต้องการ ไม่หยิบจับของเล็ก ๆ หรือไม่เดิน คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะรีบพาลูกน้อยมาพบกับกุมารแพทย์” แต่หลายครั้งปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เรื่องที่ต้องหนักใจมากจนเกินไป อย่างน้อย ให้มาปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาให้ตรงจุด จะดีที่สุดค่ะ

 

“TUMMY TIME” เทคนิคเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อย

ในเด็กที่มีอายุเกิน 3 เดือนขึ้นไป คุณหมอแนะนำวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อยเองได้ที่บ้าน “ให้คุณพ่อคุณแม่นอนเอนตัวประมาณ 45 องศา แล้ววางตัวเด็กให้ท้องชนท้อง มือหนึ่งประคองหลัง อีกมือประคองก้น ท่านี้เป็นการบังคับให้เด็กพยายามยกตัวขึ้นมา จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อคอ หลัง และยังสามารถกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาได้ด้วย เพราะระหว่างที่ทำ คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดคุยกับเด็กไปด้วยได้ ทำเสียงสูง ต่ำ ให้เขาสนใจกับเสียงพูดของเรา”

ความสามารถทั่วไป

 

“เสียง” สิ่งสำคัญช่วยกระตุ้นการเรียนรู้

คุณหมอบอกว่าอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กเล็กได้ดี นั่นก็คือ “เสียง” คุณพ่อคุณแม่อาจจะเขย่ากรุ๊งกริ๊งไปด้านซ้ายที ขวาที ขึ้นบน ลงล่าง ให้เด็กมองตาม วิธีนี้จะช่วยพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้เร็วกว่าคนอื่น แต่ถ้าเป็นในกรณีที่เด็กเกิน 4 เดือนไปแล้ว คุณหมอแนะนำให้เริ่มอ่านหนังสือให้เขาฟัง เด็กอายุ 4-12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรจะเลือกหนังสือที่เป็นผ้าหรือเป็นยาง ที่ไม่ทำอันตรายต่อเด็ก ไม่มีมุมแหลมคม ฉีกไม่ได้ ส่วนรูปภาพก็จะเน้นรูปสัตว์ตัวใหญ่ ๆ เช่น ยีราฟ สิงโต คอยชี้ให้เด็กดู ให้เขามีส่วนร่วมในการจับ ในการเปิดหน้าหนังสือ อาจจะมีการทำท่าเลียนแบบให้ดูด้วยก็ได้ เช่น ท่ากระต่าย ท่าแมวมีหนวด หรือทำเสียงสูงต่ำให้เด็กรู้สึกสนใจ

 

WATCH OUT!

การให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบดูทีวีหรือแท็บเล็ต นอกจากจะไม่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กแล้ว ยังอาจทำให้เด็กเกิดสมาธิสั้น และส่งผลให้พัฒนาการล่าช้า เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองหรือมีการปฏิสัมพันธ์ใด ๆ ได้เหมือนกับคุณพ่อคุณแม่ หรือคนเลี้ยงนั่นเอง เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะมีช่วงเวลากับเด็กให้ได้อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 3 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

 

ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช , โรงพยาบาลสุขุมวิท

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกแต่ละสัปดาห์เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เริ่มเสริมพัฒนาการได้ตั้งแต่กี่สัปดาห์

รีวิว ของเล่น ส่งเสริมพัฒนาการ 1-2 ขวบ มีแบบไหนบ้าง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ความสามารถทั่วไป : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

powered by
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว